วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หลินจือสกัดเย็น?

มีผู้ไม่เข้าใจหลินจือพอสมควรที่ข้องใจ สงสัย หลินจือมีสกัดเย็นด้วยจริงหรือเปล่า?

เพราะได้อ่านจากบทความผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้เขียนเกี่ยวกับหลินจือแบบฟันธงว่า หลินจือไม่มีสกัดเย็น จริงเท็จแค่ไหน?

ท่านนี้ยังได้เขียนฟันธงว่า หลินจือที่อ้างว่าสกัดเย็น จริง ๆ แล้วเป็นหลินจือบดแล้วใส่แค็ปซูล!

ท่านยืนยันว่า เวลาแกะแค็ปซูลเทลงในน้ำแล้วไม่ละลายในน้ำ!
ที่ท่านยืนยันมาทั้งหมด ก็ถูกของท่านนะครับ

แต่ถูกแค่ส่วนหนึ่ง อีกเยอะที่ท่านเข้าใจผิด!

เพราะโรงงานผลิตหลินจือในเมืองไทย มีแต่เพียงหลินจือที่สกัดร้อนที่มักจะเรียกกันว่า "สเปรย์ดราย" อันนี้แกะแค็ปซูลเทลงในน้ำแล้วละลายเป็นสีชา หรือสีชาใส่นม ขึ้นอยู่กับคุณภาพแป้งที่พ่นเข้าไปเพื่อให้ละอองหลินจือสามารถจับเป็นผง โรงงานผลิตหลินจือส่วนใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 90% ที่ผลิตด้วยวิธีนี้ เพราะผลิตง่าย ต้นทุนต่ำ ได้สารที่ละลายในน้ำไม่เต็ม 30% เพราะขึ้นอยู่กับการพ่นแป้งดังที่กล่าวมา

การสกัดร้อนอีกแบบหนึ่ง ที่คิดว่า น่าจะมีเพียงประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียวที่ผลิตด้วยกรรมวิธี "แรงกดสูญญกาศ" (vacuum) โดยอาศัยแรงกดสูญญกาศทำให้น้ำหลินจือที่เข้มข้นระเหยน้ำออกหมด จนเป็นผงหลินจือ เนื่องจากการสกัดแบบนี้ ใช้ต้นทุนสูงมาก จึงไม่ค่อยนิยมกัน แต่ได้คุณภาพเยี่ยม เพราะสารที่ละลายในน้ำ จะได้ครบถ้วนเต็ม ๆ 30% ทีเดียว

การสกัดที่เรียก "ฟรีซดราย" (freez dry) ซึ่งผมมักจะเรียกแบบภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า "สกัดเย็น"  ซึ่งโดยความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่ถือว่าเป็นการสกัดเย็น เป็นแค่การระเหิดน้ำออกให้แข็งตัวเท่านั้น แต่การสกัดหลินจือด้วยวิธีนี้ ไม่ใช่แค่ตรงนี้ ยังมีกรรมวิธีในการใช้ความเย็นจัดจนเกิดการแตกตัวแล้วกลายเป็นผงหยาบ ๆ อีกต่างหาก ซึ่งแต่ละโรงงานก็มีกรรมวิธีการผลิตที่อาจคล้ายคลึงกัน แต่รายละเอียดอาจแตกต่างกัน ตรงนี้แหละที่ผมเรียกวิธีการสกัดแบบนี้ว่า "สกัดเย็น" ซึ่งการสกัดแบบนี้ได้สารที่ไม่ละลายในน้ำประมาณ 65% กับ สารระเหย 5% การผลิตในลักษณะนี้ ประเทศญี่ปุ่นต้นตำรับการผลิต ตามมาด้วยจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ แล้วก็มาเลเซีย แต่ละบริษัทเน้นการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพเต็มพิกัด แต่กระนั้น ก็มีหลายบริษัทที่ลดต้นทุนการผลิตด้วยการผสมสมุนไพรตัวอื่นลงไปด้วยเช่นเดียวกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะบอกความจริงว่า มีการผสมสมุนไพรอะไรลงไปบ้าง กี่เปอร์เซ็นต์

ความแตกต่างระหว่างสารที่ละลายในน้ำ กับ สารที่ไม่ละลายในน้ำ ก็คือ สารที่ละลายในน้ำจะซึมซับสู่ร่างกายได้รวดเร็วกว่า เพราะร่างกายเราประกอบด้วยน้ำ เมื่อกินเข้าสู่ร่างกายจะละลายซึมซับไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้รวดเร็ว ในขณะที่สารที่ไม่ละลายในน้ำ ไม่สามารถถูกดูดซึมในระบบของน้ำในร่างกาย แต่ต้องอาศัยน้ำย่อยในกระเพาะเป็นตัวย่อยก่อน แล้วถึงจะถูกส่งไปสู่ส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย

แต่หลินจือสกัดร้อนจะออกฤทธิ์ทางยาไม่แรงเหมือนหลินจือที่สกัดเย็น

และจนบัดนี้ ยังไม่มีวิธีใดที่สามารถสกัดหลินจือแล้วได้สารออกฤทธิ์ทางยาได้ครบถ้วน 100%

คราวนี้มาถึงประเด็นที่ว่า มีการใช้หลินจือบดใส่แค็ปซูล?

เมื่อประมาณ 30-40 ปีก่อน มีพ่อค้าหัวใสใช้วิธีบดหลินจือเป็นผงแล้วบรรจุแค็ปซูล ซึ่งสมัยนั้น หลินจือแห้งมีราคาแพงมาก บ้านเราขายกันกิโลกรัมละประมาณหนึ่งหมื่นบาท มีกระแสลือกันลั่นสนั่นเมือง ทอล์คออฟเดอะทาวน์ว่า รักษามะเร็งได้ คนก็หากันใหญ่ ห้างขายยาแห่งหนึ่งแถวเยาวราชเป็นผู้สั่งหลินจือจากประเทศจีนเข้ามจำหน่ายบ้านเรารายใหญ่ที่สุด เข้ามาเท่าไหร่ ขายหมดในชั่วพริบตาเดียว หลินจือสเปรย์ดรายยุคนั้นยังเพิ่งเริ่มต้นใหม่ ๆ ที่ญี่ปุ่น ก็เลยมีพ่อค้าหัวใสนำหลินจือแห้งไปบดใส่แค็ปซูลขาย โดยอ้างถึงคุณภาพที่ดีกว่า กินง่ายกว่า แต่ราคาแพงกว่าหลินจือแห้งที่ขายกัน ทำให้พ่อค้าจอมโกงรวยกันไปหลายรายทีเดียว

แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านไม่รู้ก็คือ หลินจือจะมีฤทธิ์ทางยาก็ต่อเมื่อต้องผ่านกระบวนการสกัดเสียก่อน ถ้าเอามาบดธรรมดา จะไม่ออกฤทธิ์ทางยา ได้ก็แค่ ไฟเบอร์ เท่านั้น รักษาหรือบำรุงอะไรไม่ได้ผลเลย
มาถึงวันนี้ หลินจือแห้งที่ขายกันกิโกกรัมละไม่กี่สิบบาท วางขายกันเกร่อ ขืนไปบดขายก็ไม่คุ้มทุน.

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ถั่งเฉ้า บำรุงไต


 จุดเด่นของ ถั่งเฉ้า คือ
          บำรุงไต!
ในคัมภีร์แพทย์แผนจีนโบราณ ได้กล่าวถึง ถั่งเฉ้าบำรุงไต อยู่หลายเล่ม และได้พบการเน้นความสำคัญที่ว่า
ปกป้องปอดบำรุงไต
เกี่ยวกับปอด ได้เขียนมาแล้ว คราวนี้ เรามาว่ากันเกี่ยวกับการบำรุงไต นอกจากนั้นก็จะนำจุดเด่นอีกหลายด้านเกี่ยวกับการบำรุงสุขภาพของถั่งเฉ้าเพิ่มเติมที่มาจากคัมภีร์แพทย์แผนจีนโบราณให้ชาวเราครอบครัวกาโนได้รู้เพิ่มเติม
บำรุงไตเพิ่มประสิทธิภาพสายตา ในแพทย์แผนจีนได้กล่าวอ้างว่า ถ้าหากไตขาดน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพของไตอ่อนแอทรุดโทรม โยงไปถึงการทำให้สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด ถั่งเฉ้า จะเพิ่มประสิทธิภาพของไตให้มีน้ำดีขึ้น ประสิทธิภาพการมองชัดขึ้น
ไตอ่อนแอองค์เอวขาไร้เรี่ยวแรง  เมื่อไตอ่อนแอแล้ว ไม่เพียงแต่ทำให้ปวดเอว ยังจะทำให้แขนขาไร้เรี่ยวแรงอีกด้วย โดยเฉพาะกระดูกกระเรี่ยวที่ขาจะอ่อนร้าสุด ๆ กันเลยทีเดียว ในคัมภีร์แพทย์แผนจีน เน้นว่า ไตเสริมกระดูก ดังนั้น เมื่อถั่งเฉ้าปรับระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดข้อปวดกระดูกได้ดีเป็นเงาตามตัว
ไตขาดน้ำ ทำให้พลังหยังอ่อนแอ  ในศาสตร์แพทย์แผนจีน ย้ำเสมอว่า ไตคือแหล่งก่อเกิดกำเนิดชีวิต ชัดเจนที่ว่า อวัยวะภายในร่างกายนั้น แพทย์แผนจีนถือ ไตสำคัญอันดับหนึ่ง ถ้าหากไตอ่อนแอหรือมีปัญหา จะทำให้ขาดสมรรถภาพทางเพศ ขาดเชื้อที่จะสืบพันธุ์ เพราะขาดพลังหยัง ดังนั้น ถั่งเฉ้า นอกจากช่วยบำรุงไต ปรับสภาพไตให้แข็งแรงด้วยการเสริมหยังให้กระปรี้กระเปร่ากระฉับกระเฉงตามมาในที่สุด
นอกจาก ถั่งเฉ้าบำรุงไต ดังที่กล่าวมาแล้ว อีกด้านหนึ่งที่หลาย ๆ คน อาจคาดคิดไม่ถึงที่มีการระบุไว้ว่า
ถั่งเฉ้าลดอาการโรคกระหายน้ำ  โรคกระหายน้ำในค้มภีร์แพทย์แผ่นจีน หมายถึง เบาหวาน นั่นเอง การที่ปัสสาวะบ่อย ๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการกระหายน้ำ การกินถั่งเฉ้า (สมัยโบราณจะต้มถั่งเฉ้ากับอาหารแล้วดื่มกินแบบที่ว่า กินยาเป็นอาหาร) จะช่วยลดน้ำตาลในปัสสาวะ ลดอาการหิวกระหายน้ำ และลดอาการอ่อนเพลียจากโรคเบาหวาน
ถั่งเฉ้า สามารถบำรุงไต เสริมช่วยอาการไตดังที่กล่าวมาแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในตำราแพทย์แผนจีนมาแต่โบราณ โดยไม่ได้มีการระบุที่มาที่ไปอย่างชัดเจน เพียงแต่เป็นการบันทึกไว้แล้วสืบทอดต่อ ๆ กันมา
แม้จะสืบทอดต่อ ๆ กันมาก็จริง ที่สำคัญทุกประการที่บันทึกไว้เป็น ความจริง ที่ชัดเจนว่า ถั่งเฉ้าสามารถช่วยเหลือบำรุงบำบัดรักษาในด้านใดบ้าง เพราะถ้าหากไม่เป็นดังที่กล่าว ก็จะค่อย ๆ หายไปจากข้อมูลบันทึกแน่นอน ดังนั้น ทุกประการที่ระบุไว้ จึงถือเป็น ส่วนหนึ่งของสถิติ ในการรักษาอาการต่าง ๆ ของถั่งเฉ้า เป็นสิ่งที่ เชื่อถือได้ อย่างแน่นอน.

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ถั่งเฉ้า-คืออะไรหวา?



     “ถั่งเฉ้า คืออะไรหวา? เชื่อว่า หลาย ๆ ท่านที่ได้ยินชื่อ ได้รับฟังสรรพคุณมาแล้ว ก็คงจะรู้ว่า ถั่งเฉ้า เป็นตัวหนอน หรือดักแด้ชนิดหนึ่งที่บนหัวจะงอกออกมาเป็นพืชหรือหญ้าชนิดหนึ่ง หาได้เฉพาะที่ทิเบต ชิงไห่ เสฉวน ยุนนาน กานซู กุ้ยโจว และประเทศเนปาล บนเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 3,000 ฟุต-5,000 ฟุต ราคามีตั้งแต่หลักหมื่นจนกระทั่งหลักหลาย ๆ แสนต่อหนึ่งชั่ง
แม้ในตำรับตำราจีนหลายเล่มจะมีการกล่าวถึงสรรพคุณที่มาที่ไปของ ถั่งเฉ้า ไว้ก็จริง แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนจีนรู้จัก ถั่งเฉ้า เมื่อประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมานี่เอง โดยก่อนหน้านั้น ไม่ได้มีการอ้างอิงถึงแต่ประการใด แท้ที่จริงแล้ว ถั่งเฉ้าเริ่มกำเนิดอยู่ที่ทิเบต จากนั้นจึงแพร่เข้าสู่จีน จนกลายเป็น สมุนไพรชั้นสูง ที่กินมากขนาดไหนก็ได้ นานแค่ไหนก็ได้ ไม่มีพิษไม่มีภัย ไม่มีการสะสม ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ต่อสุขภาพร่างกายแน่นอน
ที่มาที่ไปของ ถั่งเฉ้า ทำไมถึงแปลก มีตัวเป็นทั้งหนอนแล้วก็เป็นหญ้าที่งอกออกมาจากส่วนของหัว ฟัง ๆ ดู หรือเห็นจากรูป เชื่อว่าหลายคนก็คงจะข้องใจเหมือนที่ผมได้จั่วหัวเอาไว้ ถั่งเฉ้า-คืออะไรหวา?
ที่มาที่ไปของ ถั่งเฉ้าไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร โดยเริ่มแรกเกิดเป็นตัวดักแด้ก่อนในช่วงฤดูหนาว แล้วกินเมล็ดพันธุ์ที่ปลิวมาตามลมเป็นอาหาร พอสิ้นฤดูหนาว เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ เมล็ดพันธุ์ในท้องของตัวดักแด้ก็จะเริ่มเจริญพันธุ์ ขยายจนเต็มตัว เหลือแต่เปลือกดักแด้ ครั้นย่างเข้าสู่ฤดูร้อน เมล็ดพันธุ์จะเจริญงอกออกมาจากส่วนหัวของดักแด้ แล้วก็จะค่อย ๆ โผล่ออกจากใต้ดินสู่บนดินในช่วงปลายเดือนเมษายนที่เป็นช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ กำลังย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งจะเจริญวัยเต็มที่ ชาวบ้านจะไปเสาะแสวงหาในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี



ตัวดักแด้นี้จะเป็นตัวดักแด้จากแมลงต่าง ๆ มากมายหลายสิบชนิด เช่น ดักแด้จากผีเสื้อ ดักแด้ตัวไหม เหล่านี้เป็นต้น นี่คือที่ว่า ถั่งเฉ้ามีมากกว่า 400 ชนิด แต่ที่มีคุณภาพจริง ๆ นั้น มีประมาณ 10 ชนิด แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าพันธุ์ไหนมีคุณภาพจริง ๆ เรียกว่า จะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะแยกแยะออก คัดเลือกได้
ตัวดักแด้จะมีความยาวประมาณ 4-5 ซม. ส่วนที่เป็นพืช ซึ่งแท้ที่จริงก็เป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง (เหมือนหลินจือนั่นแหละ แต่คนละสายพันธุ์กัน) มีความยาวประมาณ 4-11 ซม. ในช่วงที่เชื้อราเจริญวัยเต็มที่ ก่อนจะถูกคนไปเสาะค้นพบ เมล็ดพันธุ์หรือสปอร์ของมันก็จะเริ่มหลุดปลิวไปตามลม แล้วก็จะกลายเป็นอาหารของตัวดักแด้ต่อไป ซึ่งนี่ก็คือวัฎจักรของ ถั่งเฉ้า หรือจีนกลางเรียกว่า ตงฉงเซี่ยเฉ่า (หนาวหนอนร้อนหญ้า) นั่นเอง
เค้าเล่าลือกันว่า ในช่วงพฤษภาคม-มิถุนายนซึ่งเป็นช่วงเก็บเกี่ยวนั้น ชาวบ้านจะเฮโรกันขึ้นเขาเป็นจำนวนมาก ถึงขั้นแย่งชิงกันอย่างรุนแรงถึงขั้นฆ่ากันก็มีข่าวบ่อยทีเดียว ที่เกิดกระแสความรุนแรงดังกล่าว ก็เพราะคุณค่าของ ถั่งเฉ้า เป็นทั้งอาหารบำรุงสุขภาพและเป็นยาบำรุงสุขภาพ เมื่อเป็นสมุนไพรที่หายากก็กลายเป็นสมุนไพรที่มีราคาแพง (เรียกว่า แพงยิ่งกว่า หลินจือ ไม่รู้กี่เท่า) นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่เกิดการแย่งชิง แล้วยากลำบากต้องขึ้นไปเสาะแสวงหาบนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 3,000 ฟุต-5,000 ฟุต
ตรงที่มีราคาแพงนี่แหละที่ทำให้คนหัวใสได้มีการปลอมแปลงทำเทียมขึ้นมามากมายในท้องตลาด เพราะฉะนั้น ถ้าหากคนที่ดูไม่เป็น จึงไม่แนะนำให้หาซื้อ ถั่งเฉ้าทั่วไป
สำหรับ ถั่งเฉ้ากาโนมีความพิเศษแตกต่างจาก ถั่งเฉ้า ในท้องตลาดทั่วไป เป็นความสามารถ เฉพาะตัว ของ มร.เลียวซูนเซ็ง และทีมงานนักวิทยาศาสตร์ ที่สามารถ เพาะเลี้ยงถั่งเฉ้า โดยฝีมือมนุษย์ที่มาเลเซียได้สำเร็จเป็นเจ้าแรก แต่คุณภาพไม่ได้แตกต่างจาก ถั่งเฉ้าธรรมชาติ โดยได้มีการส่งไปวิเคราะห์ในแล็ปที่เซี่ยงไฮ้ที่เป็นแล็ปวิจัย ถั่งเฉ้าโดยเฉพาะ ต่อมาได้มีผลการวิเคราะห์ส่งกลับมายืนยันว่า คุณภาพที่เพาะจากมาเลเซียของกาโน มีคุณภาพไม่ได้แตกต่างจากถั่งเฉ้าธรรมชาติแต่ประการใด
มร.เลียวซูนเซ็ง จึงเริ่มการผลิตและทดลองคุณภาพกับผู้ป่วยทั่วไป โดยเริ่มจากมาเลเซียก่อน แล้วมาที่ประเทศไทย ดังจะเห็นว่า มีผู้ป่วยหลายท่านในช่วงกว่าขวบปีที่ผ่านมาได้รับอาสาในการรับประทาน ถั่งเฉ้า จนพบถึงคุณภาพอันยอดเยี่ยมของ ถั่งเฉ้ากาโน อย่างแท้จริง และเริ่มจำหน่ายในประเทศมาเลเซียก่อนเป็นปี ส่วนบ้านเราจะเริ่มจำหน่ายหลังจากหมายเลข อย.ผ่านเป็นที่เรียบร้อยแล้วในเร็ว ๆ นี้
หลายท่านที่ได้อ่านเรื่อง ถั่งเฉ้า สงสัยว่า แล้วจะกินอย่างไร? ขอโทษทีที่ไม่ได้บอกไว้ชัดเจน ในฉลากกำกับข้างขวดยาได้ระบุไว้ชัดเจนว่า รับประทานครั้งละ 1-2 แค็ปซูล วันละ 2 ครั้ง ดังนั้นให้กินพร้อม หลินจือ ในช่วงตอนเช้าและตอนเย็นได้เลย
กิน หลินจือ พร้อม ถั่งเฉ้า หลายคนอาจสงสัยว่า อ่าน ๆ แล้วดูเหมือนสรรพคุณคล้าย ๆ กัน จริงครับ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ หลินจือรักษาและปรับปรุงระบบของร่างกาย ในขณะที่ ถั่งเฉ้าบำรุงระบบของร่างกาย เมื่อกินพร้อมกันทั้งสอง กลับเป็นเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของหลินจือและถั่งเฉ้าให้แรงขึ้น เรียกได้ว่า
ทวินแอ๊คชั่น”!!!

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชีวิตไม่เฉา เมื่อกินถั่งเฉ้า (Cordyceps)




เมื่อเอ่ยถึง ถั่งเฉ้า หลาย ๆ คน อาจเคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นหูคุ้นตานัก
ถั่งเฉ้า เป็นการออกเสียงสำเนียงจีนแต้จิ๋ว ส่วนคำจีนกลางคือ ฉงเฉ่า เป็นคำย่อ โดยมาจากคำเต็ม (จีนกลาง) ตงฉงเซี่ยเฉ่า ซึ่งคำว่า ตงฉง หมายถึง หนอนในหน้าหนาว ส่วนคำว่า เซี่ยเฉ่า หมายถึง หญ้าในหน้าร้อน เพราะฉะนั้น จากคำศัพท์ดังว่า คงจะรู้สึกแปลก ๆ ที่รวมแล้วคือ หนาวหนอนร้อนหญ้า
ดังนั้น ถั่งเฉ้า จึงเป็นสมุนไพรจีนที่พิสดารยิ่งนัก เพราะตอนที่อยู่ในหน้าหนาว มันจะเป็นลักษณะเหมือน หนอน ถ้าจะพูดให้ชัดก็คือ เป็นตัว ดักแด้ ชนิดหนึ่ง แต่พอถึงหน้าร้อน มันกลับกลายเป็น หญ้า ชนิดหนึ่ง ซึ่งพื้นฐานจริง ๆ ก็คือ เป็น เชื้อรา ชนิดหนึ่ง (เหมือนหลินจือก็คือเชื้อราขนาดใหญ่)
นี่คือความแปลกพิสดารของ ถั่งเฉ้า เพราะ ลำตัวดักแด้ที่เหลือแต่เปลือก ตรงส่วนหัวจะเป็นหญ้าที่งอกยาวออกมาและแห้ง ดังนั้น จึงมีหญ้ากับเปลือกดักแด้ติดยาวออกมาเป็นสีน้ำตาล
ถั่งเฉ้า จะเกิดได้บนภูเขาสูง ซึ่งจะต้องสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 3,500 ม.-5,000 ม. ถ้ายิ่งสูง ก็จะพบมากขึ้น คุณภาพก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงพบแหล่งที่มาของ ถั่งเฉ้า ในประเทศจีนดินแดนดังต่อไปนี้ ทิเบต เสฉวน ยุนนาน ชิงไห่ กานซู กุ้ยโจว เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญและมากที่สุด
เพราะต้องค้นหาจากภูเขาสูงชันและค้นหาลำบากยากยิ่ง โดยชาวบ้านเป็นคนทิเบตจะยกขบวนกันไปพร้อม ๆ กัน แล้วคลานไปตามทางลาดชันของขุนเขา เพื่อค้นหา ถั่งเฉ้าที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยโผล่แต่ส่วนที่เป็นยอดหญ้าเหนือพื้นดินเล็กน้อย จึงต้องมีความชำนาญในการดูทีเดียว รวมทั้งชำนาญในการขุดอีกด้วย ไม่งั้นจะทำให้ถั่งเฉ้าที่ขุดขึ้นมาเสียหายได้ ราคาจึงแพงมาก กล่าวกันว่า ราคาตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสนและหลาย ๆ แสนต่อน้ำหนัก 1 ชั่ง (1 ชั่ง แค่ 6 ขีดหรือ 600 กรัม) อยู่ที่คุณภาพเป็นสำคัญ
จากหนังสือตำราแพทย์แผนจีนโบราณหรือตำหรับยาจีนที่กล่าวถึง ถั่งเฉ้า ว่า เกี่ยวกับสายพันธุ์ของ ถั่งเฉ้า มีกว่า 400 ชนิดที่แตกต่างกัน คุณภาพก็จะแตกต่างกันไปด้วย
แต่ที่สำคัญ ถั่งเฉ้า ที่มีคุณภาพจริง ๆ มีคุณภาพเต็มร้อยตามที่บันทึกไว้ มีประมาณ 10 กว่าชนิดเท่านั้น
ส่วนสรรพคุณของ ถั่งเฉ้า ที่บันทึกไว้ในตำราแพทย์แผนจีน ตลอดจนตำรับตำรายาต่าง ๆ ของทิเบต กล่าวไว้อย่างชัดเจนและใกล้เคียงกันคือ
ถั่งเฉ้า จะปกป้องปอด บำรุงไต ห้ามเลือด แก้อักเสบ มีประสิทธิภาพในการแก้ไอแห้ง บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงเชื้อ (อสุจิ) ให้แข็งแรง ปรับสภาพร่างกายให้สมดุล ปรับธาตุ บำรุงเลือด แก้พิษ และเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ
จากงานค้นคว้าของจีนยุคใหม่ ได้เน้นถึงสิ่งที่ตำรับตำราจีนกล่าวอ้างถึงมาทำการวิจัยต่อยอด จนได้พบความจริงถึงคุณภาพของ ถั่งเฉ้า ที่ชัดเจนว่า
ถั่งเฉ้า ช่วยรักษาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น นั่นก็หมายความว่า ถั่งเฉ้า สามารถรักษาโรคเรื้อรังเกี่ยวกับปอดได้ดีเช่นเดียวกัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจให้แข็งแรงขึ้น ปรับความสมดุลของภูมิต้านทาน ฟื้นฟูระบบการทำงานของไตและหยุดการลุกลามของโรคไตไม่ให้ร้ายแรงลงไปอีก ปรับความสมดุลในระบบการทำงานของหลอดเลือด ซึ่งก็ช่วยลดความดันโลหิตสูงให้ลดลง พร้อมกับทำการขับพิษออกจากระบบหลอดเลือด ดังนั้น เมื่อระบบหลอดเลือดมีการไหลเวียนที่ดี ย่อมหมายความว่า ชีวิตชีวานี้จะเกิดความคึกคัก คึกคะนองนั่นเอง
และก็มีการค้นพบเช่นเดียวกันว่า ถั่งเฉ้า สามารถต่อต้านการลุกลามของเนื้องอก ตลอดจนมะเร็งได้อีกด้วย
แนะนำถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลของ ถั่งเฉ้า เพียงแค่นี้ก่อน ไว้คราวหน้าจะมีรายละเอียดอีกหลายด้านเพิ่มเติม ตลอดจนลักษณะความเป็นแก่นแท้ที่มาที่ไปในกระบวนการเกิดของ ถั่งเฉ้า ที่คาดคิดไม่ถึง


ในอดีตนั้น ต้องนำ ถั่งเฉ้า มาต้มกับเครื่องในหมู ตุ๋นกับไก่ และอีกหลากหลายตำรับอาหารที่เป็นยา รวมทั้งการเจียดร่วมกับยาสมุนไพรอื่น ๆ แต่สำหรับวันนี้ คุณไม่ต้องยุ่งยากอีกต่อไปแล้ว เพราะ กาโนฯ ได้มอบความสมบูรณ์และประสิทธิภาพประสิทธิผลของ ถั่งเฉ้า ในรูปแบบแค็ปซูลที่กินง่าย แต่มีฤทธิ์ทางยาสุดยอดไร้เทียมทานกันทีเดียว
และบางคน เมื่อกินแล้วจะมีอาการ ร้อนใน ไม่ต้องตกใจนะครับ ให้ดื่มน้ำเพิ่ม หรือกินอาหารประเภทให้ความเย็นเป็นหลักสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายปรับให้เข้ากันแล้วคุณจะรู้ถึง สุดยอดแห่งคุณภาพ
เพราะฉะนั้น
ชีวิตไม่เฉา มีแต่คึกคัก เมื่อกิน ถั่งเฉ้า

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กินหลินจือแล้วทำไมไม่ได้ผล? (2)


            การกินหลินจือ สกาโน ส้มแขก ถั่งเฉ้า และ นมผึ้ง รวมไปถึงเครื่องดื่มผสมหลินจือ ได้ผลหรือไม่ได้ผล อย่างที่บอกเล่าไปแล้ว
        คราวนี้ มาถึงประเด็นที่มีอีกหลายคน ได้กินตามสูตรที่ผู้แนะนำบอกไปอย่างถูกต้องทุกประการ กินมาสองสามเดือนแล้ว แต่ก็ไม่เห็นดีขึ้น หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเลย
        แต่ถ้าหากลองสังเกตให้ดี จะพบว่า หลาย ๆ คนที่บอกว่า ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย ส่วนใหญ่มักคิดแต่อาการของโรคประจำตัวที่ตนเองเป็นอยู่ โดยไม่ได้สังเกตอาการด้านอื่น ๆ ที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่ได้คิดถึง หรือไม่ได้สังเกตนั่นเอง
        บางคน จะหลับสบายมากขึ้น หลับลึกขึ้น ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น ตื่นแล้วตื่นเลย ไม่มีอาการงัวเงียเหมือนเมื่อก่อน แต่เป็นอาการที่ไม่ได้สังเกต บางคนการขับถ่ายจะดีขึ้น บางรายผิวพรรณดีขึ้น หรือบางคนระบบการหายใจดีขึ้น ไม่เหนื่อยง่ายเหมือนเมื่อก่อน และอีกมากมายที่มักจะไม่ได้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของตัวเอง
        แต่สำหรับอาการป่วยของตนเองที่เป็นอยู่ มีความรู้สึกว่า ไม่ได้ดีขึ้น หรืออาจไม่ดีขึ้นอะไรนัก
        อาการดังกล่าว สำหรับบางคนแล้ว ย่อมเกิดขึ้นได้
        แต่ไม่ได้หมายความว่า หลินจือไม่ได้เข้าไปรักษาอาการดังกล่าวเลย มีการรักษาเกิดขึ้น เพียงแต่อาจไม่มากนัก ก็เลยแทบไม่รู้สึก หรือบางราย เหมือนกับว่าอาการป่วยของตนเองไม่ได้ดีขึ้นเลย
        ตรงนี้ ขอบอกว่า ไม่ได้หมายความว่า หลินจือไม่ได้ประโยชน์ เพียงแต่ขอบอกโดยตรงว่า ปริมาณที่กินของคนป่วยบางคนที่กินตามสูตร อาจไม่เพียงพอที่จะเข้าไปรักษาอาการป่วยของคน ๆ นั้น เป็นเฉพาะตัวสำหรับบางคน
        จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการกินมากขึ้น ดังเช่น คนที่เคยกินวันละ 2 มื้อ คือ เช้า-ค่ำ ก็อาจต้องเพิ่ม เช้า-บ่าย-ค่ำ ในปริมาณตามสูตรที่เคยกินในแต่ละมื้อ
        บางคนอาจหนักกว่านั้น จำเป็นต้องกินถึงวันละ 4 มื้อด้วยซ้ำ ก็คือ เช้า-เที่ยง-เย็น-ค่ำก่อนนอน ซึ่งคนที่จำเป็นต้องกินถึงวันละ 4 มื้อ บอกได้เลยว่า มีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะได้ผลกินตามสูตร วันละ 2 มื้อ ส่วนน้อย จำเป็นต้องเพิ่มเป็น 3 มื้อ แต่บางคน น้อยมาก ที่จำเป็นต้องเพิ่มเป็น 4 มื้อ
        ทำไมถึงเป็นเช่นนี้?
        เราไม่สามารถบอกถึงสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่ส่วนใหญ่มาจากบางคน เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังหลายโรค หลินจือจำเป็นต้องแบ่งเฉลี่ยเข้าไปรักษาอาการต่าง ๆ จนโรคไม่คิดว่าจะร้ายแรงนั้น มักจะดีขึ้นเรื่อย ๆ จนหายก่อน ในขณะที่โรคที่ผู้กินต้องการรักษานั้น กลับเหมือนไม่มีอะไรดีขึ้น หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็มักจะโทษหลินจือเป็นประการแรกไม่มีประโยชน์อะไรทำนองนี้ กลุ่มคนป่วยประเภทนี้จึงจำเป็นต้องกินเพิ่มมื้อขึ้น เพื่อให้หลินจือมีปริมาณในการออกฤทธิ์ไปรักษาให้ถ้วนหน้าเพิ่มมากขึ้น
        บางราย มาจากร่างกายที่ดูดซับหลินจือไม่ดีเท่าที่ควรในระยะประมาณ 3-6 เดือนแรก ทำให้รู้สึกเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ประเภทนี้ก็จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณในการกิน เช่น เพิ่มจากที่กินวันละ 2 มื้อมาเป็น 3 มื้อ หรืออาจถึง 4 มื้อ ก็ย่อมเป็นไปได้
        ขอย้ำและยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า
        หลินจือ ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” ที่จะรักษาสารพัดโรคให้หายได้ทุกคน แต่กล้าที่จะยืนยันว่า
        ทุกคนที่ได้กินหลินจือ จะมี “คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแน่นอน จนมีโอกาสหายจากโรคที่ตนเองเป็นอยู่ และหายกันมาเยอะแล้วด้วย”

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กินหลินจือแล้วทำไมไม่ได้ผล?


ผมมักได้รับคำถามบ่อย ๆ ว่า
กินหลินจือแล้วทำไมไม่ได้ผล?
กินหลินจือแล้วทำไมไม่เห็นหายเลย?
กินหลินจือแล้วทำไมอาการหนักกว่าเดิม?
สารพัดสารพันเกี่ยวกับประเด็นนี้
ประการแรก ผมมักถามกลับว่า
กินหลินจืออะไร? ยี่ห้ออะไร?
มักได้รับคำตอบเพิ่มเติมว่า เป็นหลืนจือที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป หรือ.....
แน่นอน เป็นหลินจือสกัดร้อนแบบสเปรย์ดรายนั่นเอง
ถ้างั้นแสดงว่า หลินจือสกัดร้อนแบบสเปรย์ดรายไม่มีคุณภาพ?
ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ที่มีคุณภาพก็เยอะ ที่ไม่มีคุณภาพก็มีมาก ต้องรู้จักเลือกซื้อยี่ห้อที่ไว้ใจได้เป็นสำคัญ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม หลินจือแบบสกัดร้อนสเปรย์ดราย มีคุณภาพในระดับหนึ่งที่ช่วยในการรักษาโรคเรื้อรังได้ในระดับหนึ่ง เป็นการยับยั้งไม่ให้โรคเรื้อรังกำเริบมากกว่าเดิม โอกาสที่จะหายนั้น ค่อนข้างยากสักหน่อย
ทำไม? แล้วไหนเห็นว่า เคยใช้รักษาโรคเรื้อรังหายเยอะแยะจากบทความต่าง ๆ ที่เคยเห็นเคยอ่าน?
ถูกต้อง บทความต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่า รักษาโรคนี้หาย รักษาโรคนั้นหาย แต่ลองสังเกตให้ดีว่า  เป็นบทความกว่า 20 ปีมาแล้ว ซึ่งในสมัยนั้น โรคเรื้อรังต่าง ๆ ยังไม่ร้ายแรงเหมือนสมัยนี้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในสมัยนี้ เป็นมลภาวะที่ทำให้โรคเรื้อรังต่าง ๆ ร้ายแรงเพิ่มมากขึ้น โอกาสทีจะหายจากหลินจือสกัดร้อนจึงน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
แม้กระทั่งหลินจือสกัดเย็นแบบฟรีซดรายในสมัยนี้ ที่มีคุณภาพมากกว่าหลินจือสกัดร้อนไม่รู้กี่สิบเท่า ใช้หลินจือล้วน ๆ โดยเฉพาะ ยังรักษาโรคเรื้อรังไม่ได้ง่ายเลย หรืออาจต้องกินปริมาณหลินจือจำนวนมาก จึงจะได้ผล
แต่สำหรับหลินจือรากและดอก 6 สายพันธ์ของกาโน แม้จะมีคุณภาพยอดเยี่ยมที่สุดในยุคนี้ แต่ถ้าหากรักษาโรคเรื้อรังร้าย ๆ บางโรค เช่น มะเร็ง ยังต้องให้ผู้ป่วยกินปริมาณมากกว่า 20 คู่ต่อวันในสมัยแรก ๆ  จึงมีโอกาส “เอาอยู่” กับมะเร็งร้าย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคน
แม้หลาย ๆ คน ได้กินหลินจือของกาโนก็ตาม แต่ก็ยังไม้ได้ผล อันเนื่องมาจาก
1.     ไม่มีวินัยในการกิน เรียกว่า กินบ้าง ไม่กินบ้าง ไม่มีความศรัทธาในการกิน
2.     กินน้อย กลัวหมด
3.     ช่างสงสัยว้า ทำไมต้องกินตั้งเยอะแยะ?
เหล่านี้เป็นต้น
แต่สมัยนี้ สมาชิกครอบครัวกาโน มีโอกาสได้สิ่งดี ๆ ที่หาไม่ได้จากที่อื่นอย่างแน่นอน เรามีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่จะเข้ามา “ร่วมด้วยช่วยกัน” ในการรักษาโรคเรื้อรังให้มีโอกาสหายได้ดีขึ้น เร็วขึ้น
หลายคนมักคิดว่า กินหลายตัว เปลืองเงิน บริษัทถือโอกาสขายผลิตภัณฑ์หลายตัวเพิ่มขึ้น เอาเปรียบสมาชิกให้เสียเงินซื้อมากขึ้น?
แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ไม่ใช่!!!
บริษัทช่วยคุณประหยัดมากขึ้นต่างหาก!
บริษัทช่วยคุณให้มีโอกาสหายจากโรคเรื้อรังได้เร็วขึ้นต่างหาก!
เมื่อกินหลายตัว ก็ต้องซื้อหลายตัว เปลืองเงินมากขึ้น นี่คือความรู้สึกของสมาชิกส่วนหนึ่ง
ถูกต้อง เมื่อซื้อหลายตัว ก็เท่ากับต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น
แต่...ในความเป็นจริง กินหลินจือน้อยลง ใช้เวลาในการรักษาสั้นลง เช่นบางโรค ในสมัยก่อน ต้องกินหลินจือจำนวนมาก อย่างน้อย ๆ 6 คู่ขึ้นต่อวัน ต้องกินต่อเนื่องติดต่อกันอย่างน้อย 24 เดือนขึ้นจึงมีโอกาสหาย แต่เมื่อมี สกาโน ส้มแขก ถั่งเฉ้า และนมผึ้ง ตลอดจนเครื่องดื่มเข้ามาช่วย สามารถทำให้การรักษาให้มีโอกาสหายสั้นลงเหลือประมาณ 12 เดือนโดยเฉลี่ย
นี่คือ “การประหยัด”
ประหยัดเงินลง ที่สำคัญ ประหยัดเวลาในการรักษาให้หายเร็วขึ้น
นี่แหละ ถ้าหากสมาชิกครอบคร้วกาโน กินให้ครบสูตร มีวินัยในการกิน อย่ากินบ้างไม่กินบ้าง กินให้ครบตามที่กำหนดไว้
ยืนยันอีกครั้งว่า
โรคประจำตัวที่เป็นอยู่
มีโอกาสหายค่อนข้างสูง แม้บางรายจะไม่หายขาดแน่นอน 100% แต่ยืนยันได้ว่า
“คุณภาพชีวิตต้องดีขึ้นแน่นอน”