วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หลินจือสกัดเย็น?

มีผู้ไม่เข้าใจหลินจือพอสมควรที่ข้องใจ สงสัย หลินจือมีสกัดเย็นด้วยจริงหรือเปล่า?

เพราะได้อ่านจากบทความผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้เขียนเกี่ยวกับหลินจือแบบฟันธงว่า หลินจือไม่มีสกัดเย็น จริงเท็จแค่ไหน?

ท่านนี้ยังได้เขียนฟันธงว่า หลินจือที่อ้างว่าสกัดเย็น จริง ๆ แล้วเป็นหลินจือบดแล้วใส่แค็ปซูล!

ท่านยืนยันว่า เวลาแกะแค็ปซูลเทลงในน้ำแล้วไม่ละลายในน้ำ!
ที่ท่านยืนยันมาทั้งหมด ก็ถูกของท่านนะครับ

แต่ถูกแค่ส่วนหนึ่ง อีกเยอะที่ท่านเข้าใจผิด!

เพราะโรงงานผลิตหลินจือในเมืองไทย มีแต่เพียงหลินจือที่สกัดร้อนที่มักจะเรียกกันว่า "สเปรย์ดราย" อันนี้แกะแค็ปซูลเทลงในน้ำแล้วละลายเป็นสีชา หรือสีชาใส่นม ขึ้นอยู่กับคุณภาพแป้งที่พ่นเข้าไปเพื่อให้ละอองหลินจือสามารถจับเป็นผง โรงงานผลิตหลินจือส่วนใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 90% ที่ผลิตด้วยวิธีนี้ เพราะผลิตง่าย ต้นทุนต่ำ ได้สารที่ละลายในน้ำไม่เต็ม 30% เพราะขึ้นอยู่กับการพ่นแป้งดังที่กล่าวมา

การสกัดร้อนอีกแบบหนึ่ง ที่คิดว่า น่าจะมีเพียงประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียวที่ผลิตด้วยกรรมวิธี "แรงกดสูญญกาศ" (vacuum) โดยอาศัยแรงกดสูญญกาศทำให้น้ำหลินจือที่เข้มข้นระเหยน้ำออกหมด จนเป็นผงหลินจือ เนื่องจากการสกัดแบบนี้ ใช้ต้นทุนสูงมาก จึงไม่ค่อยนิยมกัน แต่ได้คุณภาพเยี่ยม เพราะสารที่ละลายในน้ำ จะได้ครบถ้วนเต็ม ๆ 30% ทีเดียว

การสกัดที่เรียก "ฟรีซดราย" (freez dry) ซึ่งผมมักจะเรียกแบบภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า "สกัดเย็น"  ซึ่งโดยความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่ถือว่าเป็นการสกัดเย็น เป็นแค่การระเหิดน้ำออกให้แข็งตัวเท่านั้น แต่การสกัดหลินจือด้วยวิธีนี้ ไม่ใช่แค่ตรงนี้ ยังมีกรรมวิธีในการใช้ความเย็นจัดจนเกิดการแตกตัวแล้วกลายเป็นผงหยาบ ๆ อีกต่างหาก ซึ่งแต่ละโรงงานก็มีกรรมวิธีการผลิตที่อาจคล้ายคลึงกัน แต่รายละเอียดอาจแตกต่างกัน ตรงนี้แหละที่ผมเรียกวิธีการสกัดแบบนี้ว่า "สกัดเย็น" ซึ่งการสกัดแบบนี้ได้สารที่ไม่ละลายในน้ำประมาณ 65% กับ สารระเหย 5% การผลิตในลักษณะนี้ ประเทศญี่ปุ่นต้นตำรับการผลิต ตามมาด้วยจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ แล้วก็มาเลเซีย แต่ละบริษัทเน้นการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพเต็มพิกัด แต่กระนั้น ก็มีหลายบริษัทที่ลดต้นทุนการผลิตด้วยการผสมสมุนไพรตัวอื่นลงไปด้วยเช่นเดียวกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะบอกความจริงว่า มีการผสมสมุนไพรอะไรลงไปบ้าง กี่เปอร์เซ็นต์

ความแตกต่างระหว่างสารที่ละลายในน้ำ กับ สารที่ไม่ละลายในน้ำ ก็คือ สารที่ละลายในน้ำจะซึมซับสู่ร่างกายได้รวดเร็วกว่า เพราะร่างกายเราประกอบด้วยน้ำ เมื่อกินเข้าสู่ร่างกายจะละลายซึมซับไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้รวดเร็ว ในขณะที่สารที่ไม่ละลายในน้ำ ไม่สามารถถูกดูดซึมในระบบของน้ำในร่างกาย แต่ต้องอาศัยน้ำย่อยในกระเพาะเป็นตัวย่อยก่อน แล้วถึงจะถูกส่งไปสู่ส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย

แต่หลินจือสกัดร้อนจะออกฤทธิ์ทางยาไม่แรงเหมือนหลินจือที่สกัดเย็น

และจนบัดนี้ ยังไม่มีวิธีใดที่สามารถสกัดหลินจือแล้วได้สารออกฤทธิ์ทางยาได้ครบถ้วน 100%

คราวนี้มาถึงประเด็นที่ว่า มีการใช้หลินจือบดใส่แค็ปซูล?

เมื่อประมาณ 30-40 ปีก่อน มีพ่อค้าหัวใสใช้วิธีบดหลินจือเป็นผงแล้วบรรจุแค็ปซูล ซึ่งสมัยนั้น หลินจือแห้งมีราคาแพงมาก บ้านเราขายกันกิโลกรัมละประมาณหนึ่งหมื่นบาท มีกระแสลือกันลั่นสนั่นเมือง ทอล์คออฟเดอะทาวน์ว่า รักษามะเร็งได้ คนก็หากันใหญ่ ห้างขายยาแห่งหนึ่งแถวเยาวราชเป็นผู้สั่งหลินจือจากประเทศจีนเข้ามจำหน่ายบ้านเรารายใหญ่ที่สุด เข้ามาเท่าไหร่ ขายหมดในชั่วพริบตาเดียว หลินจือสเปรย์ดรายยุคนั้นยังเพิ่งเริ่มต้นใหม่ ๆ ที่ญี่ปุ่น ก็เลยมีพ่อค้าหัวใสนำหลินจือแห้งไปบดใส่แค็ปซูลขาย โดยอ้างถึงคุณภาพที่ดีกว่า กินง่ายกว่า แต่ราคาแพงกว่าหลินจือแห้งที่ขายกัน ทำให้พ่อค้าจอมโกงรวยกันไปหลายรายทีเดียว

แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านไม่รู้ก็คือ หลินจือจะมีฤทธิ์ทางยาก็ต่อเมื่อต้องผ่านกระบวนการสกัดเสียก่อน ถ้าเอามาบดธรรมดา จะไม่ออกฤทธิ์ทางยา ได้ก็แค่ ไฟเบอร์ เท่านั้น รักษาหรือบำรุงอะไรไม่ได้ผลเลย
มาถึงวันนี้ หลินจือแห้งที่ขายกันกิโกกรัมละไม่กี่สิบบาท วางขายกันเกร่อ ขืนไปบดขายก็ไม่คุ้มทุน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น