วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ถั่งเฉ้า มีประสิทธิภาพไม่ได้ด้อยกว่า หลินจือ



                น่าเชื่อได้ว่า หลาย ๆ ท่าน มีความเชื่อมั่นต่อประเสิทธิภาพของ “ถั่งเฉ้า” ในขณะที่อีกเยอะแยะที่ยังข้องใจ ยังสงสัย “ถั่งเฉ้า” มีประสิทธิภาพจริงหรือ? เทียบได้กับ “หลินจือ” หรือไม่?
        เรามาทำความรู้จัก “ถั่งเฉ้า” ให้ชัดเจนมากขึ้น ที่มาและที่ไปของถังเฉ้า มาจากไหน? คนจีนรู้จักได้ดีขนาดไหน?
        แต่ดั่งแต่เดิม คนทิเบตและคนเนปาลรู้จักถั่งเฉ้าก่อน คนทิเบตเรียกว่า “yartsa gumbu” (ยาร์ตซา กูมบู) ส่วนคนเนปาลเรียกว่า “yarsha gumbu” (ยาร์ซา กูมบู) ยาวิเศษแห่งยอดขุนเขา เพราะต้องไปเสาะแสวงหาจากยอดดอยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตรขึ้นไป ต้องค่อย ๆ คลานหาจากบนพื้นอย่างยากลำบาก ราคาจึงแพงมหาศาล ซี่งนอกจากใช้บำรุงร่างกาย รักษาอาการโรคต่าง ๆ แล้ว ที่ฮืออาอื้ออึงที่สุดเห็นจะเป็น ราชาแห่งการเสริมสมรรถนะทางเพศนั่นเอง
        ในคัมภีร์สมุนไพร โดยเฉพาะของหมอจีนชื่อดัง หลี่สือเจิน ใน “เปิ๋นเฉ่ากังมู” (สารานุกรมสมุนไพร) เมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน ได้มีการบันทึกสมุนไพรนี้ในชื่อ “ตงฉงเซี่ยเฉ่า” (สำเนียงภาษาจีนกลาง ส่วน “ถั่งเฉ้า” เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว)  หมายถึง “หนาวหนอนร้อนหญ้า” เพราะหน้าหนาวจะเป็นหนอนดักแด้ พอหน้าร้อนจะเป็นสมุนไพรประเภทเชื้อรางอกขึ้นมาบนหัวของตัวหนอนดักแด้ที่ตายแล้ว และเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า “ฉงเฉ่า” (หญ้าหนอน) เพียงกล่าวอ้างถึงเล็กน้อยเท่านั้นว่า “ยาอุ่น ไร้พิษ บำรุงรักษาเสริมประสิทธิภาพเลือดลม” ไม่ได้มีการอธิบายมากมายอะไรนัก กระทั่งมาถึงหมอจีนในสมัยราชวงศ์ชิงชื่อ อู๋อี้ลั่ว ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือเกี่ยวกับสมุนไพรของท่านที่ชื่อว่า “เปิ๋นเฉ่าฉงซิน” (สมุนไพรบันทึกใหม่) ได้มีการกล่าวถึง ฉงเฉ้า ค่อนข้างเยอะและพูดถึงประสิทธิภาพที่ค่อนข้างชัดเจนมากขึ้นว่า
        “รสกลมกล้อม อุ่น บำรุงร่างกาย บำรุงปอด ไต ลดอักเสบ หยุดอาการไอ และไอเรื้อรัง บำรุงร่างกายหลังคลอด บำรุงสมรรถนะทางเพศ”
        จากการศึกษาและงานวิจัยได้พบถึงประสิทธิภาพของถั่งเฉ้าในการรักษาอย่างน้อยที่สุด 10 ประการ อันได้แก่
1.    ค่อต้านเชื้อแบตทีเรีย
2.    ปรับเสริมภูมิต้านทาน
3.    ต่อต้านมะเร็ง
4.    ต่อต้านอาการอักเสบ
5.    บำรุงไต
6.    เสริมบำรุงต่อมหมวกไต
7.    บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ
8.    ขจัดอาการอ่อนเพลีย
9.    บำรุงปอด ระงับอาการไอ
10. จิตนิ่ง หลับสบาย

จากจุดเด่น 10 ประการดังกล่าว ถ้าหากค้นคว้าต่อไปจะมีการรักษาปลีกย่อยที่เสมือนหนึ่งเป็นยาที่รักษาอาการต่าง ๆ อีกเยอะแยะมาก เช่น ลดโคเสลเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ รักษาอาการเกี่ยวกับระบบหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไม่ปรกติของตับและลดน้ำตาลในเลือด เท่ากับรักษาเบาหวาน โดยเฉพาะในงานวิจัยของหน่วยงานหมอไทยได้ยอมรับที่ชัดเจนว่า ถ้าหากใช้ ถั่งเฉ้า ควบคู่กับ หลินจือ ในการรักษามะเร็งและเบาหวานได้เป็นอย่างดีทีเดียว
เรามาดูว่า ใน ถั่งเฉ้า ประกอบด้วยสารสำคัญอะไรบ้าง?
Cordycepic Acid   กรดเฉพาะตัวของถั่งเฉ้า ที่เพิ่มประสิทธิภาพของเมทาโบริซึมคือการเผาผลาญสารอาหาร จึงทำให้ร่างกายแข็งแรง คนป่วยจะฟื้นคัวได้รวดเร็ว ไม่เหนื่อยง่าย (เหมาะกับการใช้บำรุงนักกีฬาอย่างยิ่ง) ป้องกันเลือดออกในสมอง ละลายลิ่มเลือด ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด และรักษาอาการหอบหืด
Cordycepin  เป็นสารเฉพาะตัวของถั่งเฉ้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในระบบไหลเวียนของเลือด ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เสริมสร้างภูมิต้านทาน
Cordycep sterol  สารสเตียรอลธรรมชาติเฉพาะตัวของถั่งเฉ้า (ไม่ใช่สเตียรอลสังเคราะห์ จึงไม่เป็นอันตราย มีแต่ประโยชน์) รักษาและป้องกันอาการอักเสบ โดยเฉพาะรักษาอาการอักเสบไต ป้องกันโรคหอบหืด เพิ่มประสิทธิภาพของการบีบตัวของหัวใจ หมายถึงเสริมประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ และรักษาโรค sle
Adenosine  ต้านการแข็งตัวของเลือด นั่นคือสลายลิ่มเลือด หรือต้านการเป็นลิ่มเลือด
Polysaccharides สร้างภูมิต้านทาน ต่อต้านมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดโคเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์
จากสารสำคัญดังกล่าว  ก็จะให้เรารู้ได้ว่า ถั่งเฉ้า สามารถรักษาโรคเรื้อรังอะไรได้ชัดเจนมากขึ้น ที่สำคัญ ถั่งเฉ้าเหมือนหลินจือที่กินมากขนาดไหนก็ได้ นานแค่ไหนก็ตาม จะไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีการสะสม ไม่มีสารตกค้างในร่างกายเราแน่นอน ทุกประการจะใช่ประโยชน์ในร่างกายเราอย่างเต็มที่และใช้จนหมดในแต่ละโดส.