วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

กรรมวิธีการเพาะหลินจือ


 คราวที่แล้ว เราเขียนถึงกรรมวิธีการเพาะหลินจือทั่ว ๆ ไป คราวนี้ย้อนกลับมาที่ มร.เลียวซูนเส็ง เมื่อประมาณ 20 กว่าปีก่อน ได้เริ่มให้ความสนใจต่อหลินจือ และมั่นใจว่า หลินจือ จะกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อสุขภาพของมวลมนุษยชาติอย่างแน่นอน
โดยเริ่มต้นจากการค้นคว้าถึงวิธีการเพาะที่ลอกเลียนแบบมาจากการเพาะเห็ดฟางเป็นสำคัญ นั่นก็คือการเพาะด้วยถุงเพาะที่มีขี้เลื่อยยางพารา ผสมสารอาหารและปุ๋ยเคมี ท่านต้องประสบความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ปีแล้วปีเล่า กระทั่งสามารถเพาะได้สำเร็จ ในยุคต้น ๆ ก็เป็นการเพาะด้วยสปอร์เหมือนคนอื่น ๆ แล้วท่านก็พบว่า การเพาะด้วยสปอร์มีจุดอ่อน ที่ทำให้หลินจือกลายพันธุ์ ซึ่งจากการที่คัดเลือกหลินจือพันธุ์สมบูรณ์อย่างดี แต่เมื่อเพาะรุ่นแล้วรุ่นเล่าแค่ไม่กี่รุ่น หลินจือที่มีคุณภาพดีในตอนแรก ได้กลายพันธุ์คุณภาพดีสู้เดิม ๆ ไม่ได้
แล้วท่านก็ปิ๊งไอเดียจากที่ครอบครัวมีอาชีพทำฟาร์มกล้วยไม้ และมีการเพาะกล้วยไม้ด้วยกรรมวิธีการเพาะด้วยเนื้อเยื่อ โดยไม่มีการกลายพันธุ์ใด ๆ ท่านนำวิธีการดังกล่าวมาใช้เพาะหลินจือ แต่กว่าจะประสบความสำเร็จ ต้องพบกับความล้มเหลวอีกหลายปี
เมื่อประสบความสำเร็จในการเพาะหลินจือจากเนื้อเยื่อ ท่านก็คิดถึงการเพาะที่เป็นจุดอ่อนให้เป็นการเพาะที่ปลอดสารพิษ โดยในถุงเพาะไม่ต้องมีส่วนผสมของปุ๋ยเคมีใด ๆ เลย
ในที่สุด ท่านก็ประสบความสำเร็จเป็นการเพาะที่ปลอดสารพิษจริง ๆ โดยเป็นขี้เลื่อย ผสมแกลบ รำข้าว ในสูตรที่ท่านได้คิดค้นขึ้นโดยเฉพาะ จนเพาะหลินจือชนิดออร์แกนิก ปลอดสารพิษเป็นผลสำเร็จ เวลาเดียวกัน จากที่ท่านทำการผสมพันธุ์หลินจือ จนได้พันธุ์ หลินจือรูปหัวใจและหลินจือรูปตับที่เป็นหลินจือของท่านโดยเฉพาะ จะหาที่ไหนไม่ได้แน่นอน
มร.เลียวซูนเส็ง เริ่มต้นในการสร้างโรงเพาะแบบง่าย ๆ เป็นโรงเรือนธรรมดา ๆ จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ถึงวิธีการสกัดหลินจือที่ได้คุณภาพเยี่ยมที่สุด จนเล็งเห็นความสำคัญในการสกัดเย็น เพราะคุณค่าสารเคมีทางยาของหลินจือแทบจะอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีจุดเด่นเฉพาะตัว ใช้เวลาในการทดลองกับการสกัดครั้งแล้วครั้งเล่าหลายปี จนได้สูตรสำเร็จในการผสมถึง 6 สายพันธุ์ดังที่เราทราบกันแล้ว (รายละเอียดความลึกซึ้งของความเป็น หลินจือรากและดอก 6 สายพันธุ์มีความพิเศษที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร จะหาโอกาสเขียนถึงต่างหากในคราวหน้า)
จากโรงเรือนธรรมดา ๆ ได้จุดประกายความคิดของ มร.เลียวซูนเส็ง เป็นแนวความคิด นอกกรอบ หรือที่สมัยนี้กล่าวกันว่าเป็น บลูโอเชี่ยน ที่จะพัฒนาการสร้างโรงเพาะให้ทันสมัยเป็นแห่งแรกของโลกที่เรียกว่า โมเดิร์นฟาร์ม ได้บอกเล่า ขอความรู้จากผู้ชำนาญการเพาะเห็ดทั้งหลายทั้งมวล สิ่งที่ได้รับในตอนนั้นก็คือ เสียงหัวเราะเยาะ หาว่า ความคิดดังกล่าว เป็นไปไม่ได้  โรงเพาะที่เป็นหลังคากระเบื้อง ย่อมเก็บความร้อนในโรงเพาะจากแดดที่ส่องตรงลงไป ทำให้ภายในโรงเพาะมีความร้อนเกินไป ทำให้ความชื้นหายไป หลินจือ จะไม่มีวันเจริญเติบโตได้แน่นอน
แต่ท่านมั่นใจว่า ด้วยแนวคิด นอกกรอบ ต้องทำได้!
ในที่สุด ท่านก็พบความสำเร็จ โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ใช่ว่าจะสูงมากมายอะไรนัก เป็นเทคโนโลยีธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง โดยสร้างโรงเพาะระบบเปิด ก่ออิฐสูงประมาณเอว ส่วนที่โล่งใช้มุ้งสีดำครอบไว้เพื่อกันความชื้นออกไป รวมทั้งเป็นการควบคุมอุณหภูมิให้คงที โดยภายในโรงเพาะใช้ระบบเครื่องฉีดละอองน้ำตามเวลาที่กำหนด
ท่านประสบความสำเร็จตามแนวคิดที่ต้องการ ก็เลยเริ่มทำตามโครงการที่วางไว้ด้วยการสร้างโรงเพาะแบบ โมเดิร์นฟาร์ม ทั้งหมดมากถึง 14 โรงเพาะ โดยแต่ละโรงเพาะสามารถบรรจุถุงเพาะชนิดแขวนมากถึง 30,000 ถุง ครั้นต่อมาในวันนี้ ท่านได้สร้างโรงเพาะเพิ่มขึ้นอีกถึง 26 โรงเพาะ รวมเป็น 40 โรงเพาะ พร้อมทั้งได้มีการพัฒนาโรงเพาะให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
อย่างแรก ได้เพิ่มการใช้น้ำพ่นลงบนหลังคาโรงเพาะ เป็นการเพิ่มความแน่นอนของการรักษาอุณหภูมิและความชื้นได้ดียิ่งขึ้น สร้างแค็ปซูลที่ทันสมัยในการนึ่งฆ่าเชื้อได้ดียิ่งขึ้น นึ่งถุงเพาะได้ครั้งละ 5,000 ถุง จากเดิมที่ใช้เครื่องนึ่งธรรมดาได้ครั้งละ 500 ถุง จากเดิมที่นึ่งครั้งหนึ่ง 8 ชั่งโมง มาเป็นแค่ 5 ชั่วโมง ในความร้อนไม่เกิน 120 องศาเซลเซียส
ดังนั้น คุณภาพของหลินจือที่ได้ จึงมีคุณภาพที่ดียิ่งกว่าสมัยก่อนหลายสิบเท่า ทำให้คุณภาพหลินจือที่สกัดแล้วดียิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน
นี่คือคุณภาพหลินจือที่สมาชิกเก่า ๆ ส่วนใหญ่ ไม่ได้สังเกตเห็นถึงคุณภาพสุดยอดที่ดีกว่าสมัยก่อน แล้ววันนี้ หลินจือรากและดอก 6 สายพันธุ์ของกาโนฯ โดดเด่นเป็น...
หลินจืออันดับหนึ่งของโลก!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น