วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเพาะบนพื้นและการเพาะซ้อนถุง

    

     หลังจากที่ญี่ปุ่นได้เริ่มการเพาะหลินจือดังที่กล่าวมาในบทที่แล้ว ตอนใหม่ ๆ ประเทศจีนและไต้หวันได้เลียนแบบวิธีการเพาะแบบญี่ปุ่น พบว่าต้องเสียเวลาในการเพาะนานเกินไป ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาการเพาะ เพื่อให้ดอกหลินจือสุกเร็วขึ้น
     หลังจากที่ได้ปรับเปลี่ยนไปได้ระยะหนึ่ง ส่วนใหญ่ได้ลงตัวที่การเพาะดังนี้
     1. เพาะในดินเหมือนญี่ปุ่น แต่เพราะหาท่อนไม้ที่นำมาเพาะหลินจือลำบากยากเย็น ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนมาเพาะในดินเลย แต่ไม่ใช่นำสปอร์หว่านลงในดิน โดยได้มีการปรับดินเหมือนกัน แต่ปูด้วยสิ่งเศษวัสดุที่เป็นอาหารของหลินจือ ดังเช่น ฟางข้าว ที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการแช่น้ำ แล้านำมาปูพื้นให้หนาได้ระดับหนึง จากนั้นก็จะหว่านสิ่งที่เป็นสารอาหารบางประเภทรวมถึงปูนขาวแล้วทำการพ่นน้ำให้ชุ่มระดับหนึ่ง พร้อมกับโรยสปอร์หลินจือลงไป แล้วก็ปูฟางข้าวทับลงไป ทำในลักษณะเดียวกันเป็นชั้น ๆ จะกี่ชั้นก็แล้วแต่คนเพาะหลินจือ แต่สุดท้ายก็จะคลุมด้วยแผ่นพลาสติก แล้วปล่อยทิ้งไว้จนกว่าหลินจือจะงอกเป็นดอกออกมาในที่สุด
     2.  การเพาะแบบถุงซ้อน หมายความว่า บรรจุถุงเพาะที่เป็นขี้เลื่อยผสมสารอาหารและปุ๋ยเคมีเรียบร้อยแล้ว ผ่านการนึ่งถุงเพาะฆ่าเชื้อ แล้วนำสปอร์หลินจือหยอดเข้าไปในถุงเพาะ จากนั้นก็นำถุงเพาะไปซ้อนเรียงเป็นชั้น ๆ สูงขึ้นไป จะกี่มากน้อยก็อยู่ที่ผู้เพาะมีเนื้อที่มากน้อยเท่าไหร่เป็นสำคัญ
      ไม่ว่าเป็นการเพาะแบบญี่ปุ่นในท่อนไม้ หรือกรรมวิธีการเพาะแบบชั้น ๆ บนพื้นดินด้วยฟางข้าว หรือถุงเพาะซ้อนเป็นชั้น ๆ ส่วนใหญ่สำหรับมืออาชีพ เพื่อเป็นการเน้นเพาะแบบออร์แกนิค (ไม่สมบูรณ์ 100%) เพราะยังมีการใส่ปูนขาวหรือปุ๋ยแบบอื่น ๆ แต่เพื่อให้เห็นว่าเป็นออร์แกนิกก็ด้วยการเพาะใน "กรีนเฮ้าส์" นั่นเอง
       แต่สำหรับชาวบ้านทุนไม่หนา ก็เพาะแบบโรงเพาะคล้าย ๆ บ้านเรา เป็นโรงเรือนโล่ง ๆ แล้วคลุมหลังคาด้วยผ้าพลาสติกบ้าง ตาข่ายหรือมุ้งบ้าง เป็นต้น
       การเพาะด้วยกรรมวิธีนี้ ดอกหลินจือจะสุกเต็มที่ ต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น