วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หลินจือสกัดเย็น?

มีผู้ไม่เข้าใจหลินจือพอสมควรที่ข้องใจ สงสัย หลินจือมีสกัดเย็นด้วยจริงหรือเปล่า?

เพราะได้อ่านจากบทความผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้เขียนเกี่ยวกับหลินจือแบบฟันธงว่า หลินจือไม่มีสกัดเย็น จริงเท็จแค่ไหน?

ท่านนี้ยังได้เขียนฟันธงว่า หลินจือที่อ้างว่าสกัดเย็น จริง ๆ แล้วเป็นหลินจือบดแล้วใส่แค็ปซูล!

ท่านยืนยันว่า เวลาแกะแค็ปซูลเทลงในน้ำแล้วไม่ละลายในน้ำ!
ที่ท่านยืนยันมาทั้งหมด ก็ถูกของท่านนะครับ

แต่ถูกแค่ส่วนหนึ่ง อีกเยอะที่ท่านเข้าใจผิด!

เพราะโรงงานผลิตหลินจือในเมืองไทย มีแต่เพียงหลินจือที่สกัดร้อนที่มักจะเรียกกันว่า "สเปรย์ดราย" อันนี้แกะแค็ปซูลเทลงในน้ำแล้วละลายเป็นสีชา หรือสีชาใส่นม ขึ้นอยู่กับคุณภาพแป้งที่พ่นเข้าไปเพื่อให้ละอองหลินจือสามารถจับเป็นผง โรงงานผลิตหลินจือส่วนใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 90% ที่ผลิตด้วยวิธีนี้ เพราะผลิตง่าย ต้นทุนต่ำ ได้สารที่ละลายในน้ำไม่เต็ม 30% เพราะขึ้นอยู่กับการพ่นแป้งดังที่กล่าวมา

การสกัดร้อนอีกแบบหนึ่ง ที่คิดว่า น่าจะมีเพียงประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียวที่ผลิตด้วยกรรมวิธี "แรงกดสูญญกาศ" (vacuum) โดยอาศัยแรงกดสูญญกาศทำให้น้ำหลินจือที่เข้มข้นระเหยน้ำออกหมด จนเป็นผงหลินจือ เนื่องจากการสกัดแบบนี้ ใช้ต้นทุนสูงมาก จึงไม่ค่อยนิยมกัน แต่ได้คุณภาพเยี่ยม เพราะสารที่ละลายในน้ำ จะได้ครบถ้วนเต็ม ๆ 30% ทีเดียว

การสกัดที่เรียก "ฟรีซดราย" (freez dry) ซึ่งผมมักจะเรียกแบบภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า "สกัดเย็น"  ซึ่งโดยความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่ถือว่าเป็นการสกัดเย็น เป็นแค่การระเหิดน้ำออกให้แข็งตัวเท่านั้น แต่การสกัดหลินจือด้วยวิธีนี้ ไม่ใช่แค่ตรงนี้ ยังมีกรรมวิธีในการใช้ความเย็นจัดจนเกิดการแตกตัวแล้วกลายเป็นผงหยาบ ๆ อีกต่างหาก ซึ่งแต่ละโรงงานก็มีกรรมวิธีการผลิตที่อาจคล้ายคลึงกัน แต่รายละเอียดอาจแตกต่างกัน ตรงนี้แหละที่ผมเรียกวิธีการสกัดแบบนี้ว่า "สกัดเย็น" ซึ่งการสกัดแบบนี้ได้สารที่ไม่ละลายในน้ำประมาณ 65% กับ สารระเหย 5% การผลิตในลักษณะนี้ ประเทศญี่ปุ่นต้นตำรับการผลิต ตามมาด้วยจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ แล้วก็มาเลเซีย แต่ละบริษัทเน้นการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพเต็มพิกัด แต่กระนั้น ก็มีหลายบริษัทที่ลดต้นทุนการผลิตด้วยการผสมสมุนไพรตัวอื่นลงไปด้วยเช่นเดียวกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะบอกความจริงว่า มีการผสมสมุนไพรอะไรลงไปบ้าง กี่เปอร์เซ็นต์

ความแตกต่างระหว่างสารที่ละลายในน้ำ กับ สารที่ไม่ละลายในน้ำ ก็คือ สารที่ละลายในน้ำจะซึมซับสู่ร่างกายได้รวดเร็วกว่า เพราะร่างกายเราประกอบด้วยน้ำ เมื่อกินเข้าสู่ร่างกายจะละลายซึมซับไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้รวดเร็ว ในขณะที่สารที่ไม่ละลายในน้ำ ไม่สามารถถูกดูดซึมในระบบของน้ำในร่างกาย แต่ต้องอาศัยน้ำย่อยในกระเพาะเป็นตัวย่อยก่อน แล้วถึงจะถูกส่งไปสู่ส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย

แต่หลินจือสกัดร้อนจะออกฤทธิ์ทางยาไม่แรงเหมือนหลินจือที่สกัดเย็น

และจนบัดนี้ ยังไม่มีวิธีใดที่สามารถสกัดหลินจือแล้วได้สารออกฤทธิ์ทางยาได้ครบถ้วน 100%

คราวนี้มาถึงประเด็นที่ว่า มีการใช้หลินจือบดใส่แค็ปซูล?

เมื่อประมาณ 30-40 ปีก่อน มีพ่อค้าหัวใสใช้วิธีบดหลินจือเป็นผงแล้วบรรจุแค็ปซูล ซึ่งสมัยนั้น หลินจือแห้งมีราคาแพงมาก บ้านเราขายกันกิโลกรัมละประมาณหนึ่งหมื่นบาท มีกระแสลือกันลั่นสนั่นเมือง ทอล์คออฟเดอะทาวน์ว่า รักษามะเร็งได้ คนก็หากันใหญ่ ห้างขายยาแห่งหนึ่งแถวเยาวราชเป็นผู้สั่งหลินจือจากประเทศจีนเข้ามจำหน่ายบ้านเรารายใหญ่ที่สุด เข้ามาเท่าไหร่ ขายหมดในชั่วพริบตาเดียว หลินจือสเปรย์ดรายยุคนั้นยังเพิ่งเริ่มต้นใหม่ ๆ ที่ญี่ปุ่น ก็เลยมีพ่อค้าหัวใสนำหลินจือแห้งไปบดใส่แค็ปซูลขาย โดยอ้างถึงคุณภาพที่ดีกว่า กินง่ายกว่า แต่ราคาแพงกว่าหลินจือแห้งที่ขายกัน ทำให้พ่อค้าจอมโกงรวยกันไปหลายรายทีเดียว

แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านไม่รู้ก็คือ หลินจือจะมีฤทธิ์ทางยาก็ต่อเมื่อต้องผ่านกระบวนการสกัดเสียก่อน ถ้าเอามาบดธรรมดา จะไม่ออกฤทธิ์ทางยา ได้ก็แค่ ไฟเบอร์ เท่านั้น รักษาหรือบำรุงอะไรไม่ได้ผลเลย
มาถึงวันนี้ หลินจือแห้งที่ขายกันกิโกกรัมละไม่กี่สิบบาท วางขายกันเกร่อ ขืนไปบดขายก็ไม่คุ้มทุน.

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ถั่งเฉ้า บำรุงไต


 จุดเด่นของ ถั่งเฉ้า คือ
          บำรุงไต!
ในคัมภีร์แพทย์แผนจีนโบราณ ได้กล่าวถึง ถั่งเฉ้าบำรุงไต อยู่หลายเล่ม และได้พบการเน้นความสำคัญที่ว่า
ปกป้องปอดบำรุงไต
เกี่ยวกับปอด ได้เขียนมาแล้ว คราวนี้ เรามาว่ากันเกี่ยวกับการบำรุงไต นอกจากนั้นก็จะนำจุดเด่นอีกหลายด้านเกี่ยวกับการบำรุงสุขภาพของถั่งเฉ้าเพิ่มเติมที่มาจากคัมภีร์แพทย์แผนจีนโบราณให้ชาวเราครอบครัวกาโนได้รู้เพิ่มเติม
บำรุงไตเพิ่มประสิทธิภาพสายตา ในแพทย์แผนจีนได้กล่าวอ้างว่า ถ้าหากไตขาดน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพของไตอ่อนแอทรุดโทรม โยงไปถึงการทำให้สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด ถั่งเฉ้า จะเพิ่มประสิทธิภาพของไตให้มีน้ำดีขึ้น ประสิทธิภาพการมองชัดขึ้น
ไตอ่อนแอองค์เอวขาไร้เรี่ยวแรง  เมื่อไตอ่อนแอแล้ว ไม่เพียงแต่ทำให้ปวดเอว ยังจะทำให้แขนขาไร้เรี่ยวแรงอีกด้วย โดยเฉพาะกระดูกกระเรี่ยวที่ขาจะอ่อนร้าสุด ๆ กันเลยทีเดียว ในคัมภีร์แพทย์แผนจีน เน้นว่า ไตเสริมกระดูก ดังนั้น เมื่อถั่งเฉ้าปรับระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดข้อปวดกระดูกได้ดีเป็นเงาตามตัว
ไตขาดน้ำ ทำให้พลังหยังอ่อนแอ  ในศาสตร์แพทย์แผนจีน ย้ำเสมอว่า ไตคือแหล่งก่อเกิดกำเนิดชีวิต ชัดเจนที่ว่า อวัยวะภายในร่างกายนั้น แพทย์แผนจีนถือ ไตสำคัญอันดับหนึ่ง ถ้าหากไตอ่อนแอหรือมีปัญหา จะทำให้ขาดสมรรถภาพทางเพศ ขาดเชื้อที่จะสืบพันธุ์ เพราะขาดพลังหยัง ดังนั้น ถั่งเฉ้า นอกจากช่วยบำรุงไต ปรับสภาพไตให้แข็งแรงด้วยการเสริมหยังให้กระปรี้กระเปร่ากระฉับกระเฉงตามมาในที่สุด
นอกจาก ถั่งเฉ้าบำรุงไต ดังที่กล่าวมาแล้ว อีกด้านหนึ่งที่หลาย ๆ คน อาจคาดคิดไม่ถึงที่มีการระบุไว้ว่า
ถั่งเฉ้าลดอาการโรคกระหายน้ำ  โรคกระหายน้ำในค้มภีร์แพทย์แผ่นจีน หมายถึง เบาหวาน นั่นเอง การที่ปัสสาวะบ่อย ๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการกระหายน้ำ การกินถั่งเฉ้า (สมัยโบราณจะต้มถั่งเฉ้ากับอาหารแล้วดื่มกินแบบที่ว่า กินยาเป็นอาหาร) จะช่วยลดน้ำตาลในปัสสาวะ ลดอาการหิวกระหายน้ำ และลดอาการอ่อนเพลียจากโรคเบาหวาน
ถั่งเฉ้า สามารถบำรุงไต เสริมช่วยอาการไตดังที่กล่าวมาแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในตำราแพทย์แผนจีนมาแต่โบราณ โดยไม่ได้มีการระบุที่มาที่ไปอย่างชัดเจน เพียงแต่เป็นการบันทึกไว้แล้วสืบทอดต่อ ๆ กันมา
แม้จะสืบทอดต่อ ๆ กันมาก็จริง ที่สำคัญทุกประการที่บันทึกไว้เป็น ความจริง ที่ชัดเจนว่า ถั่งเฉ้าสามารถช่วยเหลือบำรุงบำบัดรักษาในด้านใดบ้าง เพราะถ้าหากไม่เป็นดังที่กล่าว ก็จะค่อย ๆ หายไปจากข้อมูลบันทึกแน่นอน ดังนั้น ทุกประการที่ระบุไว้ จึงถือเป็น ส่วนหนึ่งของสถิติ ในการรักษาอาการต่าง ๆ ของถั่งเฉ้า เป็นสิ่งที่ เชื่อถือได้ อย่างแน่นอน.